เครื่องปรับอากาศที่ใช้กันทั่วไปมีกี่ประเภท ?

Last updated: 26 พ.ค. 2565  |  806 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เครื่องปรับอากาศที่ใช้กันทั่วไปมีกี่ประเภท ?

ประเภทของเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันทั่วไป แตกต่างกันอย่างไร ?

      ในปัจจุบัน การใช้งานเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์นั้นมีเพิ่มขึ้นตลอด โดยเฉพาะภายในอาคาร ห้างสรรพสินค้า รวมถึงบ้านเรือนเองของเราเองก็มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เพราะช่วยในการแก้ไขปัญหาอากาศร้อนๆ ของบ้านเราลงไปได้ ซึ่งเครื่องปรับอากาศนั้นแบ่งได้เป็น 7 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1. แอร์แบบติดผนัง  (Wall Type)
      เริ่มต้นที่แอร์บ้านที่เป็นที่นิยมที่สุดในท้องตลาด เชื่อว่าทุกบ้านต้องมีไว้ติดอยู่ไม่ในห้องนอนก็ห้องนั่งเล่นอย่างแน่นอน ด้วยความที่เป็นที่นิยมอย่างมากจึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยแบรนด์เครื่องปรับอากาศชั้นนำของโลก ทำให้มี แอร์ติดผนัง (Wall type)  ให้เลือกหลากหลายรูปแบบ โดยนอกจากนั้น BTU ก็มีให้เลือกตั้งแต่ 9,000 BTU ไปจนถึง 20,000 BTU เลยทีเดียว จึงหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่น้อย เช่นในห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องดูโทรทัศน์ ห้องรับแขก

ข้อดีของแอร์แบบติดผนัง (Wall Type)
     ·  มีแอร์ติดผนังให้เลือกหลากหลายรูปแบบและหลากหลายยี่ห้อ
     ·  รูปแบบทันสมัย และมีให้เลือกหลากหลาย มาพร้อมฟังก์ชั่นที่ทันสมัย
     ·  การทำงานของแอร์แบบติดผนังจะเงียบ
     ·  การติดตั้งง่าย และการซ่อม ทำนุบำรุงก็ง่ายเช่นกัน

ข้อเสียของแอร์แบบติดผนัง (Wall Type)
     ·  ไม่เหมาะกับงานหนัก เนื่องจากคอยล์เย็นมีขนาดเล็กส่งผลให้คอยล์สกปรก และอุดตันง่ายกว่าคอยล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า




2. แอร์แบบตั้ง/แขวน  (Ceiling/Floor Type)
      เป็นแบบที่ใช้หลักการคล้ายๆ กับ แอร์ติดผนัง (Wall type) แต่จะเป็นแบบตั้งอยู่กับพื้น หรืออาจเรียกได้ว่าแขวนอยู่ในระดับพื้นห้อง ซึ่งยังต้องอาศัยคอมเพรสเซอร์และท่อต่อ จึงไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ต้องดูตำแหน่งการวางให้ดี ไม่ให้แอร์ตีหน้าคนที่อยู่ในห้อง หรือวางในตำแหน่งที่สามารถกระจ่ายความเย็นได้อย่างทั่วถึง อย่าวางไว้ในพื้นที่อับๆ เพราะจะไม่สามารถกระจายอากาศได้ดี เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่ตั้งแต่เล็ก เช่น ห้องนอน ไปจนถึงห้องที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น สำนักงาน ร้านอาหาร ห้องประชุม

ข้อดีของแอร์แบบตั้ง/แขวน (Ceiling/Floor Type)
     ·  สามารถเลือกการติดตั้งได้ทั้งตั้งพื้น หรือแขวนเพดาน
     ·  สามารถใช้งานได้หลากหลาย เข้าได้กับทุกสถานที่
     ·  การระบายลมดี

ข้อเสียของแอร์แบบตั้ง/แขวน (Ceiling/Floor Type)
     ·  ไม่ค่อยมีรูปแบบดีไซน์ให้เลือกหลากหลาย



3. แอร์แบบฝังฝ้าเพดานสี่ทิศทาง (Cassette Type)
      อาจนับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมไม่แพ้กันรองลงมาจาก แอร์ติดผนัง (Wall type) เลยก็ว่าได้ เราสามารถสร้างแอร์ฝังฝ้าเพดานให้ไม่ต้องมีตัวเครื่องยื่นออกมาเกะกะห้อง จึงเหมาะอย่างมากสำหรับบ้านโมเดิร์น เน้นดีไซน์ ที่ไม่ต้องการแอร์เครื่องใหญ่ๆ มาบดบังทัศนียภาพ นอกจากใช้ในบ้านแล้วก็เหมาะกับพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ห้าง และโรงแรม ที่สร้างมาพร้อมกับระบบแอร์ฝังติดเพดาน เพื่อกระจ่ายอากาศเย็นไปให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ แอร์ฝังฝ้าติดเพดาน (Cassette type)  จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เริ่มมีความนิยมไม่แพ้ แอร์ติดผนัง (Wall type)

ข้อดีของแอร์แบบฝังฝ้าเพดาน (Cassette Type)
     ·  ไม่เปลืองพื้นที่ ดูเท่ โมเดิร์น
     ·  กระจายอากาศได้ดี โดยเฉพาะหากติดตั้งบริเวณกลางห้อง

ข้อเสียของแอร์แบบฝังฝ้าเพดาน (Cassette Type)
     ·  ติดตั้งยาก อาจต้องคิดเรื่องการติดตั้งพร้อมๆ กับขั้นตอนการสร้างไปเลย
     ·  เสียค่าใช้จ่ายเยอะ ทั้งเครื่องที่มักจะแพงกว่าและค่าติดตั้งที่ยากกว่า



4. แอร์แบบตู้ตั้งพื้น (Package Type)
      หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับแอร์ตู้ตั้งเท่าไหร่ เพราะอาจไม่ค่อยเคยเห็นใช้เยอะในบรรดาแอร์ใช้ในบ้านเท่าไหร่ เนื่องจากส่วนมากแอร์ตู้จะมีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้น มีลักษณะเป็นตู้สี่เหลี่ยม ตัวอย่างที่หลายคนอาจนึกถึงคือ ในสนามมบินสุวรรณภูมิมีการใช้แอร์ตู้ตั้ง ช่วยกระจ่ายให้ทั้งอาคารมีความเย็นที่ทั่วถึง นั่นจึงเป็นสาเหตุให้แอร์ตู้ตั้งมักใช้ในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ เช่น หอประชุม สนามบิน ร้านค้า ห้าง และอื่นๆ อีกมากมาย

ข้อดีของแอร์แบบตั้งตู้ (Package Type) 
     ·  ติดตั้งง่าย โดยสามารถตั้งกับพื้นได้เลย ไม่ต้องทำการยึด
     ·  ทำความเย็นได้เร็วเนื่องจากมีเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดลมที่ใหญ่ ซึ่งให้กำลังลมที่แรงกว่า
     ·  ให้ความเย็นได้ดี เหมาะกับพื้นที่ที่มีผู้คนเยอะๆ

ข้อเสียของแอร์แบบตั้งตู้ (Package Type) 
     ·  เสียพื้นที่ใช้สอย
     ·  ไม่เหมาะกับการใช้ในครัวเรือน



5. แอร์แบบหน้าต่าง (Window Type)
      แอร์ย้อนยุคสุดคลาสสิคที่ตอนนี้เห็นได้ยากแล้ว แต่ก็ยังพอเห็นได้อยู่บ้างในจีนหรือฮ่องกง เป็นแอร์ที่ไม่ต้องใช้คอมเพรสเซอร์ มีขนาดเป็นตู้สี่เหลี่ยมด้านเท่า เป็นเครื่องปรับอากาศที่รวมทั้ง คอนเดนซิ่งยูนิต (Condensing Unit หรือ CDU) และ แฟนคอยล์ ยูนิต (Fan coil unit) อยู่ในเครื่องเดียว ซึ่งสามารถติดตั้งโดยการฝังที่กำแพงห้องได้เลย โดยที่ไม่ต้องเดินท่อน้ำยา ดังนั้นการติดตั้งจึงต้องติดตั้งบริเวณช่องหน้าต่างหรือเจาะช่องที่ผนังแข็งแรง

ข้อดีของแอร์แบบหน้าต่าง (Window Type)
     ·  ประหยัดพื้นที่เนื่องจากไม่ต้องใช้พื้นที่ติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต
     ·  ติดตั้งง่ายเพราะไม่ต้องเดินท่อน้ำยา
     ·  ประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูง เนื่องไม่มีการเดินท่อน้ำยา ทำให้ไม่มีความร้อนแทรกซึมตามท่อน้ำยา

ข้อเสียของแอร์แบบหน้าต่าง (Window Type)
     ·  มีเสียงดังจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์ และทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนของตัวเครื่องและผนัง
     ·  ปรับอุณหภูมิและการสวิงกระจ่ายความเย็นไม่ค่อยได้



6. แอร์แบบเคลื่อนที่ (Portable Type)
      เป็นเครื่องปรับอากาศที่ไม่ต้องทำการติดตั้ง และสามารถเข็นไปใช้ได้ทุกพื้นที่ พูดง่ายๆก็คือสามารถเสียบปลั๊กใช้ได้เลย สามารถเคลื่อนที่ได้ มักนิยมใช้ควบคู่กันไปกับแอร์หลักของบ้าน ใช้เพื่อเสริมการกระจายอากาศเย็น และถ่ายเทอากาศภายในห้อง

ข้อดีของแอร์แบบเคลื่อนที่ (Portable Type) 
     ·  ขนาดกะทัดรัด
     ·  ไม่ต้องติดตั้ง
     ·  สามารถเข็นไปได้ใช้ได้ทุกพื้นที่ ทั้งในห้อง และกลางแจ้ง

ข้อเสียของ แอร์แบบเคลื่อนที่ (Portable Type) 
     ·  ใช้ได้กับห้องที่มีขนาดใหญ่ไม่มาก
     ·  ประสิทธิภาพการทำความเย็นต่ำกว่า เนื่องจากเป็นระบบเปิดเมื่อนำไปใช้กลางแจ้ง



7. แอร์แบบท่อลม (Duct Type)
      เครื่องปรับอากาศรูปแบบนี้สามารถทำความเย็นโดยซ่อนคอยล์เย็นไว้ในฝ้าส่งลมเย็นผ่านท่อลม ส่งลมได้ไกลทำให้เลือกติดตั้งช่องลมออกได้ตามตำแหน่งที่ต้องการ ติดตั้งได้ในพื้นที่เพดานต่ำ ใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นสำนักงานหรือบ้านพักอาศัย ทนทานด้วยแผงระบายความร้อนที่ชุดคอยล์ร้อนเคลีอบสารป้องกันการกัดกร่อน ใช้งานได้ยาวนาน

ข้อดีของแอร์แบบท่อลม (Duct Type)
     ·  มีความสวยงาม แทบจะไม่มีส่วนใดของแอร์โผล่ออกมาให้เห็นภายในอาคารเลย (ยกเว้นหน้ากากแอร์เท่านั้น)
     ·  ทุกอย่างควบคุมจากจุดๆ เดียว ทำให้การแก้ไข และหาสาเหตุของปัญหาต่างๆ เป็นไปได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ข้อเสียของแอร์แบบท่อลม (Duct Type)
     ·  มีราคาที่ค่อนข้างสูงต่อระบบ เพราะตัวเครื่องจะมีขนาดใหญ่กว่าแอร์ทั่วๆ ไป
     ·  มีความยุ่งยากในการติดตั้งมากที่สุด เพราะจะต้องเดินท่อลมต่างๆ ไปตามพื้นที่ด้วย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้